+ All Categories
Home > Documents > ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหาร...

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหาร...

Date post: 10-Jul-2020
Category:
Upload: others
View: 4 times
Download: 0 times
Share this document with a friend
174
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2562
Transcript
  • ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

    อธิวัฒน์ พันธ์รตัน์

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลยัราชภัฏนครสวรรค์

    พ.ศ. 2562

  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นทีก่ารศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

    อธิวัฒน์ พันธ์รัตน ์

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

    พ.ศ. 2562 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

  • FACTORS AFFECTING ACADEMIC ADMINISTRATION OF SCHOOL UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 9

    ATIWAT PHANRAT

    A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Master of

    Education Degree in Educational Administration Nakhon Sawan Rajabhat University

    2019 Copyright of Nakhon Sawan Rajabhat University

  • (1)

    บทคัดย่อ

    ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

    ผู้วิจัย นายอธิวัฒน์ พันธ์รัตน์ คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน ดร.สายทิตย์ ยะฟู ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) ปีการศึกษา 2561 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1. เพ่ือศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2. เพ่ือศึกษาระดับของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 3. เพ่ือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 4. เพ่ือสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ปีการศึกษา 2561 จ านวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน ปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านงบประมาณ และปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมเท่ากับ .75 สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 57 สร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y’= 0.47 + 0.73(X2) + 0.28(X3) + 0.24(X1) - 0.16(X4) - 0.12(X6) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.52(Z2) + 0.32(Z3) + 0.25(Z1) - 0.16(Z4) - 0.10(Z6) ค าส าคัญ: ปัจจัยทางการบริหาร, การบริหารงานวิชาการ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ

  • (2)

    Abstract

    Title Factors Affecting Academic Administration of Schools Under Secondary Educational Service Area Office 9

    Author Mr. Atiwat Phanrat Advisory Committee Asst. Prof. Teeppipat Suntawan, Ph.D.

    Saythit Yafu, Ph.D. Degree Master of Education (Educational Administration) Academic year 2018 The objectives of this research were 1) to study the level of academic administration of school under Secondary Educational Service Area Office 9, 2) to study the level of the factors affecting academic administration of school under Secondary Educational Service Area Office 9, 3) to study the relationship between factors affecting the academic administration of schools under Secondary Educational Service Area Office 9 and 4) to create the prediction equations of academic administration of school under Secondary Educational Service Area Office 9. The sample consisted of 346 school directors and teachers under Secondary Educational Service Area Office 9 using simple random sampling. The research tool used was 5 point rating scale questionnaire, with a reliability coefficient of 0.98. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1. Overall, the level of the academic administration of schools was at high level. 2. Overall, the factor affecting academic administration of schools was at high level. 3. The relationship between the factors affecting academic administration of schools and academic administration was the positive relationship at high level with statistically significant at .01. 4. By using multiple regression analysis, the factors affecting academic administration of school were teachers, parents, communities, administrator, budget and educational technology at the .05 level of significance. The cumulative correlation coefficient was at .75. The prediction of academic administration of secondary school was 57 percent and can be written in a prediction equation as follows: The predicting equation of raw scores was: Y’= 0.47 + 0.73(X2) + 0.28(X3) + 0.24(X1) - 0.16(X4) - 0.12(X6) The predicting equation of standard scores was: Z = 0.52(Z2) + 0.32(Z3) + 0.25(Z1) - 0.16(Z4) - 0.10(Z6) Keywords: Administrational Factors, Academic Administration, Factors Affecting to Academic Administration

  • (3)

    กิตติกรรมประกาศ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาด้วยดีนั้น ผู้วิจัยต้องขอกราบขอบพระคุณ คณาจารย์ในสาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ทุกท่าน ที่ได้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้รับความกรุณาจากอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน และ ดร.สายทิตย์ ยะฟู อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้แล้วยังเป็นผู้ช่วยเหลือดูแลและให้ค าแนะน า ปรึกษาในการด าเนินการวิจัยจนส าเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ที่ให้ข้อเสนอแนะในการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ให้ข้อมูลในการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารสถานศึกษา และครูของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ที่ให้ความช่วยเหลือในการตอบแบบสอบถาม ขอขอบคุณเพื่อนนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 18 ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน เป็นก าลังใจ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ จนท าให้การวิจัยในครั้งนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คุณค่าและประโยชน์ของงานวิจัยฉบับนี้ ผู ้วิจัยขอมอบแด่บิดาผู้ล่วงลับ มารดา คุณย่า และครูอาจารย์ทุกท่านที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ตลอดจนผู้เขียนต าราและเอกสารทางวิชาการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าอ้างอิงทุกท่าน ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้สอนทุกท่าน ที่อบรมสั่งสอนให้ความรู้ด้านวิชาการแขนงต่าง ๆ ตลอดจนแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการท าวิทยานิพนธ์ และขอขอบพระคุณ คณะผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเครื่องมือในการท าวิทยานิพนธ์ตลอดจน ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจนท าให้การจัดท าวิทยานิพนธ์ส าเร็จลุล่วงด้วยดี คุณค่าและประโยชน์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบแด่บิดาผู้ล่วงลับ มารดา คุณย่า ผู้ให้ชีวิต ให้โอกาส ให้รากฐานทางการศึกษาเล่าเรียนและสิ่งดี ๆ ในชีวิต ครู อาจารย์ทุกท่านทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้ ให้ค าแนะน าและช่วยเหลือแก่ผู้วิจัยด้วยดี ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว ญาติ พี่น้องและเพ่ือน ๆ ทุกคน ที่ให้ก าลังใจ สนับสนุน จนส าเร็จลุล่วงด้วยดี

  • (4)

    สารบัญ

    บทที่ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ......................................................................................................... (1) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ .................................................................................................... (2) กิตติกรรมประกาศ .......................................................................................................... (3) สารบัญ ........................................................................................................................... (4) สารบัญตาราง ................................................................................................................ (6) สารบัญภาพ .................................................................................................................... (8) 1 บทน า ......................................................................................................................... 1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา .................................................................. 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย ........................................................................................ 3 ขอบเขตการวิจัย ...................................................................................................... 3 นิยามศัพท์เฉพาะ .................................................................................................... 4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ...................................................................................... 6 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .................................................................................. 7 บริบทของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9...................................... 7 หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารงานสถานศึกษา .......................... 13 การบริหารงานวิชาการ............................................................................................ 17 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .................................................................................................. 69 กรอบแนวคิดของการวิจัย ....................................................................................... 76 สมมติฐานการวิจัย ................................................................................................... 77 3 วิธีด าเนินการวิจัย ....................................................................................................... 79 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ...................................................................................... 79 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย .......................................................................................... 79 ขั้นตอนการสร้าง ..................................................................................................... 80 การเก็บรวบรวมข้อมูล ............................................................................................. 81 การวิเคราะห์ข้อมูล .................................................................................................. 81 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................................................. 83 ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม ...................... 85 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 .......... 86 ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 .............................. 93 ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 .......... 101

  • (5)

    สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 ............................... 102 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ............................................................................ 104 สรุปผลการวิจัย ....................................................................................................... 104 อภิปรายผล ............................................................................................................. 105 ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................... 109 รายการอ้างอิง .............................................................................................................. 111 ภาคผนวก ................................................................................................................. 117 ภาคผนวก ก หนังสือราชการที่เก่ียวข้อง ................................................................ 118 ภาคผนวก ข เครื่องมือในการท าวิจัย ..................................................................... 124 ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ....................................................................... 134 ประวัติย่อผู้วิจัย ............................................................................................................ 161

  • (6)

    สารบัญตาราง

    ตารางท่ี หน้า 2.1 ตารางแสดงจ านวนโรงเรียนที่รับผิดชอบของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จ านวน 2 จังหวัด ......................................................................................... 9 2.2 ตารางแสดงจ านวนโรงเรียน แยกขนาดตามจ านวนนักเรียนปีการศึกษา 2560 สังกัด ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9...................................................... 9 2.3 ตารางแสดงจ านวนบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ................................................................................... 9 2.4 ตารางเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2558 - 2560 รายสาระวิชา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ................ 10 2.5 ตารางเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2558 - 2560 รายสาระวิชา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ................ 10 2.6 ตารางแสดงการสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ......................... 27 2.7 ตารางแสดงการสังเคราะห์ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ..................................... 41 4.1 ตารางแสดงจ านวนและร้อยละของสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนก เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ............. 85 4.2 ตารางแสดงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาสังกัด ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวม................................. 86 4.3 ตารางแสดงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านผู้บริหาร ....................... 87 4.4 ตารางแสดงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านครูผู้สอน ....................... 88 4.5 ตารางแสดงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านผู้ปกครองและชุมชน..... 89 4.6 ตารางแสดงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านงบประมาณ .................. 90 4.7 ตารางแสดงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านอาคารสถานที่ .............. 91 4.8 ตารางแสดงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ....................................................................... 92 4.9 ตารางแสดงระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัด ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวม................................. 93

  • (7)

    สารบัญตาราง

    ตารางท่ี หน้า 4.10 ตารางแสดงระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านการวางแผนงานวิชาการ ...................................... 94 4.11 ตารางแสดงระดับการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านการจัดเรียนการสอนในสถานศึกษา ................... 95 4.12 ตารางแสดงระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ......................... 96 4.13 ตารางแสดงระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านการวัดผลประเมินผลและการด าเนินการ เทียบโอนผลการเรียน .............................................................................................. 97 4.14 ตารางแสดงระดับการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านการนิเทศการศึกษา ............................................. 98 4.15 ตารางแสดงการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและ มาตรฐานการศึกษา ................................................................................................. 99 4.16 ตารางแสดงการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา...... 100 4.17 ตารางแสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 .............................................. 101 4.18 ตารางแสดงการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนของตัวแปรพยากรณ์ท่ีใช้ในการพยากรณ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ................................................................................... 102

  • (8)

    สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 2.1 แสดงกรอบแนวคิดการวิจัย ........................................................................................ 78

  • บทที่ 1

    บทน ำ

    ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน จะต้องให้ความส าคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็งและมีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาคนหรือทุนมนุษย์ให้เข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 และการเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอ้ือต่อการพัฒนาคุณภาพของคน ทั้งในเชิงสถาบัน ระบบโครงสร้างของสังคมให้เข้มแข็งสามารถเป็นภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต(กระทรวงศึกษาธิการ. 2551: 1) การศึกษาจึงถือว่าเป็นปัจจัยส าคัญที่ทุกประเทศใช้เป็นนโยบายหลักส าหรับการพัฒนาประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติโดยตรง ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นพ้ืนฐานในการน าพาประเทศไทยก้าวหน้าอย่างยั่งยืน จึงจ าเป็นที่จะต้องส่งเสริมและยกระดับการศึกษาในทุกช่วงวัย ให้ทุกภาคส่วนช่วยกันบูรณาการการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (ส านักวิชาการเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2558: 1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด ารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้อย่างมีความสุข มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตส านึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมายความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้ อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญบนพ้ืนฐานความเชื่อว่าคนทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ทั้งนี้การศึกษาช่วยเสริมสร้างความรู้ ความคิด ทักษะในการด าเนินชีวิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ น ามาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ (แก่นนคร พูนกลาง. 2559: 1) การศึกษามีสถาบันการศึกษาเป็นองค์การทางสังคม ที่ท าหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แบ่งระบบการศึกษาออกเป็น 2 ระดับคือ การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และการศึกษาอุดมศึกษา โดยการบริหารสถาบันการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน จะมีผู้บริหารสถานศึกษาท าหน้าที่ในการบริหารซึ่งมีขอบข่ายและภารกิจ 4 ประการ คือ การบริหารวิชาการ การบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไป การบริหารงานวิชาการเป็นหัวใจส าคัญของการบริหารสถานศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ผู้บริหารต้องให้ความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการบริหารงานด้านอ่ืน ๆ แม้จะมีความส าคัญเช่นเดียวกัน แต่เป็นเพียงส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้

  • 2

    งานวิชาการด าเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการบริหาร จะต้องให้การสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตร กิจกรรมการบริหารงานวิชาการจะเปลี่ยนแปลงไปตามสาระส าคัญของหลักสูตรและนโยบายการบริหารของหน่วยงานระดับกรม เช่น การเร่งรัดในการพัฒนาคุณภาพการบริหาร การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การเรียนการสอน การนิเทศและการประเมินคุณภาพภายใน ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาเป็นต้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อนักเรียนแล้วยังส่งผลต่อการบริหารการศึกษาในระดับชาติอีกด้วย การด าเนินงานกิจกรรมทางวิชาการจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ในการบริหารงานวิชาการ ถือเป็นความจ าเป็นที่คณะครูทีมงาน หรือแม้แต่คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการบริหาร ตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น การวางแผน การตัดสินใจ การปฏิบัติ การติดตามตรวจสอบและประเมินผล ทั้งนี้เพ่ือประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณที่มีต่อผู้เรียนเป็นส าคัญ (จันทรานี สงวนนาม. 2553: 148-149) การแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยโดยเฉพาะการศึกษาระดับพื้นฐานเป็นเรื่องที่ยาก การปฏิรูปการศึกษารอบที่สองเมื่อปี 2552 ยังไม่สามารถท าให้คุณภาพการศึกษาของประเทศดีขึ้นได้อย่างทั่วถึง ดังจะเห็นได้จากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร มีคุณภาพโดยเฉลี่ยเมื่อวัดจากการสอบมาตรฐานต่าง ๆ สูงกว่าโรงเรียนในพ้ืนที่ห่างไกลในภูมิภาค (สถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย. 2557: 3) จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (Ordinary National Educational Test) O–NET ของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจ าปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยดังนี้ภาษาไทย 49.04 ภาษาอังกฤษ 29.50 คณิตศาสตร์ 26.46 วิทยาศาสตร์ 32.28 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาษาไทย 49.47 สังคมศึกษา 34.65 ภาษาอังกฤษ 26.41 คณิตศาสตร์ 23.95 และวิทยาศาสตร์ 28.56 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่ต่ ากว่าร้อยละ 50 ในทุกวิชา (ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. 2560: 73-80) จากข้อมูลดังกล่าว เป็นตัวชี้วัดให้เห็นคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ที่มุ่งเน้นในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงานวิชาการ ที่ไม่ประสบความส าเร็จ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีแนวโน้มลดต่ าลงอย่างเห็นได้ชัด นักเรียนไม่สามารถเรียนจบตามก าหนดของหลักสูตรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุดังกล่าว มี 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ผู้บริหารไม่เห็นความส าคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและขาดความสนใจในการบริหารงานวิชาการ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร ด้านครูผู้สอน ครูไม่เพียงพอ มีภาระงานต้องรับผิดชอบมากและขาดทักษะการสอน ไม่มีเวลาจัดการแผนการสอน และสื่อการสอน และด้านนักเรียน คุณภาพนักเรียนไม่ดีเท่าที่ควร ขาดทักษะการด ารงชีวิต ยากจนและขาดแคลน (มนูญ เชื้อชาติ. 2554: 2) ซึ่งสอดคล้องกับนักการศึกษาหลายท่านที่ได้ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความส าเร็จในการบริหารโรงเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านตัวครูและปัจจัยด้านนักเรียน (House, Rizzo, & Lirtman. 1970: 319; Pendly. 1986: 98; Reid. 1988: 24-29; Hoy, & Miskel. 2001: 409; อ้างถึงใน มนูญ เชื้อชาติ . 2554: 3) ที่พบว่าปัจจัยด้านผู้บริหาร ศักยภาพของครู และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จการบริหารจัดการสถานศึกษา แต่ละปัจจัยยังประกอบด้วยตัวแปรย่อยอีกมากมายหลายประการที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียน

  • 3

    จากสภาพและปัญหาที่กล่าวมาผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ การบริหารงานงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยมุ่งหวังที่จะใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุง แก้ไขปัญหา และอุปสรรคในการบริหารงานวิชาการ ซึ่งจะน าไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพ่ือประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาต่อไป วัตถุประสงค์กำรวิจัย 1. เพ่ือศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2. เพ่ือศึกษาระดับของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 3. เพ่ือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการกับการบริหาร งานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 4. เพ่ือสร้างสมการพยากรณ์ของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ขอบเขตกำรวิจัย ในการศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ในครั้งนี้จะศึกษาขอบเขตการวิจัยดังนี้ 1. ขอบเขตเนื้อหำ ขอบเขตเนื้อหาที่จะศึกษา คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 2. ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง 2.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครขูองสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จ านวน 3,502 คน 2.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ปีการศึกษา 2561 จ านวน 346 คน ก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย 3. ขอบเขตพื้นที่ ขอบเขตพ้ืนที่ที่จะด าเนินการ ได้แก่สถานศึกษาในสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จ านวน 61 โรงเรียน

    4. ขอบเขตด้ำนตัวแปร 4.1 ตัวแปรพยำกรณ์ คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัด

    ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีทั้งหมด 6 ตัวแปร ประกอบด้วย 4.1.1 ปัจจัยด้านผู้บริหาร 4.1.2 ปัจจัยด้านครูผู้สอน

  • 4

    4.1.3 ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน 4.1.4 ปัจจัยด้านงบประมาณ 4.1.5 ปัจจัยด้านอาคารสถานที ่ 4.1.6 ปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา 4.2 ตัวแปรเกณฑ์ คือ การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มี 7 ด้าน ประกอบด้วย 4.2.1 ด้านการวางแผนงานวิชาการ 4.2.2 ด้านการจัดเรียนการสอนในสถานศึกษา 4.2.3 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 4.2.4 ด้านการวัดผลประเมินผลและการด าเนินการเทียบโอนผลการเรียน 4.2.5 ด้านการนิเทศการศึกษา 4.2.6 ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา 4.2.7 ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา นิยำมศัพท์เฉพำะ ปัจจัยท่ีส่งผลต่อกำรบริหำรงำนวิชำกำร หมายถึง สิ่งที่เป็นเหตุให้การบริหารงานวิชาการ ประสบผลส าเร็จและมีประสิทธิภาพของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ และปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ปัจจัยด้ำนผู้บริหำร หมายถึง ผู้บริหารที่เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารจัดการ มีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้น าทางวิชาการ มีการวางแผนและการปฏิบัติงานตามแผน มีการก ากับติดตามเพ่ือปรับปรุงและพัฒนางานวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดี ปัจจัยด้ำนครูผู้สอน หมายถึง ครูผู้สอนที่เป็นผู้มีความรู้ มีความสามารถและประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตรและสอนตรงตามวิชาเอก มีการวัดประเมินผลและน าผลที่ได้ไปปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน มีการท าวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนการสอน มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่างท่ีดีแก่นักเรียนและสังคม ปัจจัยด้ำนผู้ปกครองและชุมชน หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน การจัดตั้งสมาคม ชมรม ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า การจัดประชุมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ต่อผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรท้องถิ่น มีการส่งเสริมสนับสนุน และติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน มีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสม รวมถึงสถานศึกษามีการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ปัจจัยด้ำนงบประมำณ หมายถึง การจัดท าแผนการใช้งบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การแสวงหาเงินสนับสนุน การมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ มีความสมดุลระหว่างงบประมาณกับโครงการ/กิจกรรม มีการเบิกจ่ายและอนุมัติงบประมาณอย่างเป็นระบบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ มีการรายงานผลการใช้เงินต่อคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดอย่างชัดเจนและท่ัวถึง

  • 5

    ปัจจัยด้ำนอำคำรสถำนที่ หมายถึง การวางแผนการใช้อาคารสถานที่ อาคารสถานที่และสิ่งอ านวยความสะดวกเพียงพอกับจ านวนนักเรียน มีระบบการลงทะเบียนและระเบียบการใช้อาคารมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม แหล่งการเรียนรู้ ให้มีบรรยากาศร่มรื่นสวยงามเอ้ือต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีเจ้าหน้าที่ดูแลอาคารสถานที่ สิ่งอ านวยความสะดวก พัสดุครุภัณฑ ์และความปลอดภัย ปัจจัยด้ำนสื่อและเทคโนโลยีทำงกำรศึกษำ หมายถึง การวางแผนจัดหาอุปกรณ์สื่อและเทคโนโลยีที่จ าเป็น มีสื่อพ้ืนฐานที่จ าเป็นต่อหลักสูตร มีคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอกับจ านวนนักเรียน มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มีการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มีการจัดระบบการค้นหน้าเป็นหมวดหมู่ มีการบ ารุงรักษาสื่อและเทคโนโลยีให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กำรบริหำรงำนวิชำกำร หมายถึง การด าเนินกิจกรรมทุกชนิดทุกประเภทของสถานศึกษา เพื่อสนับสนุน ปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้ด าเนินไปอย่างราบรื่น มีคุณภาพ เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน โดยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา ประกอบไปด้วยงานด้านต่าง ๆ 7 ด้าน ดังนี้ งานด้านการวางแผนงานวิชาการ งานด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา งานด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา งานด้านการวัดผลประเมินผลและการด าเนินการเทียบโอนผลการเรียน งานด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา งานด้านการนิเทศการศึกษา และงานด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา กำรวำงแผนงำนวิชำกำร หมายถึง การด าเนินการศึกษานโยบายและมาตรฐานการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา แล้วก าหนดวางแผนงานด้านงานวิชาการ ให้สอดคล้องกันตามบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ พร้อมทั้งจัดท าแผนปฏิบัติการประจ าปีด้านวิชาการของสถานศึกษา โดยการก าหนดวิธีการปฏิบัติอย่างชัดเจนเพ่ือให้การด าเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านวิชาการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและบรรลุตามวัตถุประสงค์ท่ีได้ตั้งไว้อย่างมีคุณภาพ กำรจัดเรียนกำรสอนในสถำนศึกษำ หมายถึง การด าเนินการจัดการเรียนการสอน อันประกอบไปด้วย การจัดตารางสอน การจัดครูเข้าสอนในชั้นเรียน การจัดท าแผนการสอน ก าหนดกิจกรรม จัดเตรียมสื่อการเรียนการสอน การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูผู้สอน ส่งเสริมปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม น าภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ก ากับติดตาม ประเมินผล สอนซ่อมเสริม และปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สรุปและรายงานผลการจัดการเรียนการสอน กำรพัฒนำหลักสูตรสถำนศึกษำ หมายถึง การด าเนินงานเพ่ือพัฒนาหลักสูตรอันประกอบไปด้วย การศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร การประชุมอบรมปฏิบัติการการบริหารจัดการหลักสูตร จัดเตรียมเครื่องมือมาสนับสนุน การจัดท าหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรครอบคลุมมาตรฐานการศึกษา การติดตามประเมินผลปรับปรุงการบริหารจัดการหลักสูตร รวมถึงการสรุปผลการด าเนินงานการบริหารจัดการหลักสูตร กำรวัดผลประเมินผลและกำรด ำเนินกำรเทียบโอนผลกำรเรียน หมายถึง การด าเนินงานการวัดผลประเมินผลการเรียน การก าหนดระเบียบแนวปฏิบัติ การมีความรู้ความเข้าใ จเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล ประเมินผลการเรียนรู้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การประเมินผลเน้นการประเมินผลตามสภาพจริง ส่งเสริมให้ครูพัฒนาเครื่องมือวัดผลประเมินผล ติดตามตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล รายงานผลการเรียนอย่างเป็นระบบ และใช้ผลการประเมินปรับปรุง/พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู

  • 6

    กำรนิเทศกำรศึกษำ หมายถึง การที่สถานศึกษามีการศึกษาระบบการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา วางแผนการนิเทศ จัดบุคลากรในการด าเนินการนิเทศ จัดท าเครื่องมือนิเทศ ด าเนินการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอน ประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นิเทศกับหน่วยงานอื่น และปรับปรุงการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนอย่างสม่ าเสมอ กำรพัฒนำระบบกำรประกันคุณภำพภำยในและมำตรฐำนกำรศึกษำ หมายถึง การสร้างแนวทาง หรือข้อก าหนดอย่างละเอียดเพ่ือพัฒนาการประเมินผล ติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด ที่มีหนาที่ก ากับดูแลสถานศึกษานั้น ๆ อย่างเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ต่อการน าไปปฏิบัติ กำรพัฒนำและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อกำรศึกษำ หมายถึง การด าเนินงานในการพัฒนา สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษา การวิเคราะห์คุณภาพ และจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างหลากหลาย เลือกใช้สื่อเทคโนโลยีที่ผ่านการประเมินคุณภาพทางวิชาการ จากคณะกรรมการ ผลิต และพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการเรียนการสอน เพ่ือใช้จัดการเรียนการสอน และบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกเขตพ้ืนที่การศึกษาให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ประสานความร่วมมือในการผลิต พัฒนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับหน่วยงานอื่น ๆ ผู้บริหำรสถำนศึกษำ หมายถึง ผู้ที่ด ารงต าแหน่งผู้อ านวยการสถานศึกษา รองผู้อ านวยการ หรือผู้รักษาราชการแทนของสถานศึกษา ในสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ครู หมายถึง ข้าราชการครู พนักงานราชการ และครูอัตราจ้างของสถานศึกษา ในสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ 1. ทราบถึงระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2. ทราบถึงระดับของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 3. ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 4. ได้สมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 5. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 สามารถน าปัจจัยที่ได้ไปเป็นแนวทางในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • บทที่ 2

    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. บริบทของเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 1.1 ข้อมูลพ้ืนฐานทั่วไป 1.2 บทบาทหน้าที่ของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา 1.3 ข้อมูลพ้ืนฐานด้านการศึกษา 1.4 ผลการด าเนินงานวิชาการของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา 2. หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานในสถานศึกษา 3. การบริหารงานวิชาการ 3.1 ความหมายของการบริหารงานวิชาการ 3.2 ความส าคัญของการบริหารงานวิชาการ 3.3 กระบวนการบริหารงานวิชาการ 3.4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ 3.5 ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4.1 งานวิจัยในประเทศ 4.2 งานวิจัยต่างประเทศ 5. กรอบแนวคิดการวิจัย 6. สมมติฐานการวิจัย บริบทของเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ผู้วิจัยได้ศึกษา ค้นคว้า เอกสารเกี่ยวกับข้อมูลพ้ืนฐานของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ดังรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้ (ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. 2560: 14) 1. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีพ้ืนที่ให้บริการ 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ชั้น 2 และชั้น 3 ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ต าบลสนามชัย อ าเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และศูนย์ประสานงาน ตั้งอยู่ทีโ่รงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อ าเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 2. บทบาทหน้าที่ของส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีหน้าที่ด าเนินการให้เป็นไปตามอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพ้ืนที่การศึกษา ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา

  • 8

    แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการ ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1) จัดท านโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพ้ืนที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายมาตรฐานการศึกษาของแผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพ้ืนฐานและความต้องการของท้องถิ่น 2) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและหน่วยงานในเขตพ้ืนที่การศึกษาและแจ้งจัดสรรงบประมาณที่ ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ และก ากับตรวจสอบ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว 3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษา 4) ก ากับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาข้ันพื้นฐานในเขตพ้ืนที่การศึกษา 5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้องมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษา 6) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพ่ือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการและพัฒนาการศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษา 7) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษา 8) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอ่ืนที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพ้ืนที่การศึกษา 9) ด าเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษา 10) ประสาน ส่งเสริมการด าเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะท างานด้านการศึกษา 11) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กร หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในฐานะส านักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพ้ืนที่การศึกษา 12) ปฏิบัติหน้าที่อ่ืนเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพ้ืนที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะหรือปฏิบัติงานอื่นตามที่มอบหมาย ในการด าเนินงานส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ในการขับเคลื่อนให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพโดยผ่านกลุ่มการบริหารงานทั้งสิ้น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอ านวยการ กลุ่มบริหารงานบุคล กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา และกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ โดยแต่ละกลุ่มจะเน้นไปที่การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพ่ือให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ จุดเน้น และเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของสถานศึกษาในสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 3. ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา ส านักงา�


Recommended